การเตรียมตัวเข้าสอบมหาวิทยาลัย
1. ค้นหาตัวเองให้เจอ
น้องๆจำนวนมาก แม้กระทั่งม.6
แล้วก็อาจจะยังไม่รู้ว่าอยากเป็นอะไร หรืออยากเข้าคณะอะไร
มีหน้าที่เรียนไปเรื่อยๆ คณะก็เลือกตามเพื่อนๆเอา
หรือเลือกตามที่พ่อแม่แนะนำให้เลือกเอา
ซึ่งการเลือกเช่นนั้นเป็นวิธีการที่ผิดเป็นอย่างมาก
เพราะถ้าหากว่าน้องๆเข้าไปเรียนแล้วไม่ชอบ ไม่ใช่ ก็อาจต้องเสียเวลา “ซิ่ว”
มาเรียนคณะอื่น หรือต่อให้จบแล้วอาจจะต้องทนทำงานนั้นไปตลอดชีวิตก็คงจะไม่ดีแน่ๆ
ดังนั้นน้องๆต้องค้นหาตัวเองให้เจอครับ ว่าเราชอบคณะอะไร ชอบทำอาชีพอะไร
ซึ่งอาจทำได้โดยดูจากลักษณะนิสัยของตัวเอง ถามรุ่นพี่คณะต่างๆ
หรือเข้าร่วมค่ายที่จัดโดยคณะต่างๆเพื่อค้นหาตัวเองให้เจอว่าคณะไหนนั้น “ใช่”
สำหรับเรา
![]() |
วิธีการรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยนั้นก็มีหลากหลายทางไม่ว่าจะเป็น รับตรงของมหาวิทยาลัยเอง โควต้าชนิดต่าง หรือจะเป็นการรับผ่านระบบของการสอบกลาง ก็แล้วแต่ ดังนั้นน้องๆก็ควรจะหาข้อมูลให้พร้อมว่าคณะที่เราอยากเข้านั้นรับนักเรียนเข้าศึกษาต่อผ่านทางไหนบ้าง เพราะยิ่งเราทราบวิธีการรับนักเรียนมากวิธีเท่าไรโอกาสในการที่จะได้เข้าคณะนั้นๆก็ยิ่งสูงขึ้น
3. ถามรุ่นพี่คณะนั้นๆให้ชัวร์
การถามรุ่นพี่คณะนั้นๆไม่ใช่การถามถึงวันสอบ การยื่นคะแนน หรืออะไรแนวนั้นนะครับ แต่เป็นการถามถึงรูปแบบการเรียนในมหาวิทยาลัยของคณะนั้นๆ งานที่รองรับเมื่อจบแล้ว เพื่อที่น้องๆจะได้ทราบว่าการเข้าไปเรียนนั้นน้องๆจะเรียนได้รึป่าว เรียนไหวไหม หรือจบมาแล้วรูปแบบการทำงานลักษณะแบบนี้โอเคไหม เป็นต้น
4. เตรียมจัดตารางการอ่านหนังสือ
นอกจากเนื้อหาที่เราควรอ่านให้จบก่อนสอบ 1-2 เดือนแล้ว การทำข้อสอบก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยอาจทำโจทย์ไปพร้อมกับการอ่าน หรือทำในช่วง 1-2 เดือนที่เหลือจากการอ่านเนื้อหาก็ได้ แต่ต้องทำ!! เพราะการทำโจทย์นั้นจะทำเหมือนเป็นการลงสนามจริงหลังจากที่อ่านเนื้อหามาอย่างพร้อมแล้ว เพื่อที่จะประเมินว่าเรายังบกพร่องตรงจุดไหน หรือจริงๆแล้วที่เราอ่านมานั้นเราสามารถนำมาใช้ในการทำข้อสอบได้ดีแค่ไหน จะได้ปรับปรุงกันต่อไป
6. ท้อได้ แต่อย่าถอย
ข้อนี้สำคัญมากนะครับ
ในการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยนั้นคงเป็นช่วงชีวิตในการเรียนที่หนักที่สุดของน้องๆแล้วละ
เพราะต้องแข่งกับนักเรียนทั้งประเทศ หลายครั้งที่อ่านหนังสือน้องๆอาจจะท้อ
ซึ่งถ้าหากท้อก็อยากให้หยุดอ่านสักพัก ไปทำกิจกรรมอื่นๆที่อยากทำ
และกลับมาอ่านหนังสือต่อ อย่าเพิ่งถอยจนเลิกอ่านไปเลย เพราะระหว่างที่เรากำลังเล่น
คนอื่นอาจจะกำลังอ่าน และระหว่างที่เรากำลังอ่าน
คนอื่นอาจจะกำลังอ่านมากกว่าก็ได้นะ
มหาวิทยาลัยปิด :
สถานที่ที่หนึ่ง เข้าก็ยาก ออกก็ยาก เป็นที่โปรดปรานของบิดามารดาเวลาออกมาแล้วได้กระดาษมาคนละแผ่น
เรียกว่าใบปริญญา อาจมีความรู้แถมมาด้วยเล็กน้อย
มหาวิทยาลัยเปิด :
ตรงกันข้ามกับอันแรก เข้าง่าย
แต่ออกยากกว่ามหาวิทยาลัยปิดได้ใบปริญญามาเช่นกัน
แต่คุณค่าต่ำกว่าอันแรกโดยใช้ค่านิยมเป็นตัวตัดสิน
ปริญญาบัตร : เอาไว้ยืนยันการเลือกงานตามสาขาและระดับที่ร่ำเรียนมาต่ำกว่านั้นไม่ได้
คณะ : หมวดหมู่ของวิชา เลือกเรียนได้ตามความถนัด สนใจ พอใจ
คะแนนเอนท์ฯและความพอใจของท่านบิดามารดา
บิดามารดา : เรียกอีกอย่างว่าผู้ปกครอง มักบอกลูกตัวเองว่าให้เลือกเรียนตามความถนัดจะเอาแพทย์จุฬาฯ
เภสัชมหิดล อักษรจุฬาฯ หรือนิติธรรมศาสตร์ก็ได้ เลือกเอานะลูก…
กิจกรรม : เอาไว้ฝึกแบ่งเวลาและฝึกเข้าสังคม ควรเพลาๆ ลงเมื่อได้ F เกินสามตัวต่อปี
รับน้องใหม่ : กิจกรรมหนึ่ง มักมีขึ้นช่วงก่อนมหาวิทยาลัยเปิดภาคเรียนที่หนึ่งเป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคีและความสนิทสนมให้แก่รุ่นน้องและรุ่นพี่ถ้ามีหลังเปิดภาคเรียนเรียกว่า
ว้าก
ว้าก : กิจกรรมตอนเย็นๆ ที่มีมาแต่โบราณกาล
ปัจจุบันก็ยังมีหลงเหลือให้เห็นอยู่แยะมักมีขึ้นช่วงเย็นๆ ถึงดึกๆ
เป็นการทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ และเสรีภาพ เสมอภาคและภราดรภาพ
โดยใช้คำผรุสวาท และมีกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้มากมาย
ว้ากเกอร์ : บุคคลกลุ่มหนึ่ง เสียงดี ไอเดียเยี่ยม
แสดงละครเก่งทำให้รุ่นน้องสามัคคีกันเป็นงานอดิเรก ตอนที่อยู่ในระหว่างเทศกาลว้าก
คนกลุ่มนี้จะไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ ไร้ความร่าเริง
ไม่คุยกับเด็กปีหนึ่งทำหน้าตายได้อย่างเดียว
เสรีภาพ : สิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างทางความคิด
คิดได้อย่างเดียว คิดเข้าไป แต่อย่าทำ
เสมอภาค : สิ่งที่ถูกอ้างว่ามีอยู่จริงในมหาวิทยาลัย แต่ถูกจำกัดด้วยคำว่า Seniority
และ Instructor
ภราดรภาพ : สิ่งที่อาจมีอยู่จริง แต่ยังไม่มีใครมองเห็นและนำมาใช้
เฟรชชี่ : ผ้าขาว สดใส น่ารัก หน้าตาอ่อนใส ไร้เดียงสา ที่สำคัญต้องใส่รองเท้าสีขาว
เป็นคำจำกัดความของเด็กที่เพิ่งเข้ามาใหม่ ยังไม่แก่โลก และถูกชักจูงง่ายมาก
บอกอะไรเชื่อหมด …หลอกง่ายดี…ชอบ
ประชุมเชียร์ : โดยปกติมักจัดเวลากินข้าวเย็นถึงเวลานอน เรียกมาให้พร้อมหน้ากัน
แล้วร้องเพลงเชียร์ มักอยู่คู่กับประเพณีว้าก
เพลงเชียร์ : สิ่งปลุกใจเฟรชชี่ให้เกิดความรักพวกพ้อง รักรุ่นพี่ รักคณะตัวเอง
คณะอื่นไม่เกี่ยว ไม่ดี ไม่ได้เรื่อง คณะเราดีที่สุด…อย่ามายุ่งนะ
นิสิตนักศึกษา :
คนกลุ่มหนึ่ง มีหน้าที่เรียน เรียน และเรียน แต่มีบางส่วนที่ลืมตัว
เผลอเอาเวลามาทำกิจกรรมจนไม่มีเวลาไปเรียน
รุ่นพี่ : ปูชนียบุคคล ไหว้ได้ถ้าจำเป็น ต่างกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นิดเดียว คือ
เมื่อเวลาเดินผ่านแล้วไม่ทักทายอาจโดนข้อหาหนักได้
ชุดนิสิตนักศึกษา :
นิยมแต่งเฉพาะช่วงสอบ
หอพักนักศึกษา :
แหล่งซ่องสุมกำลังอย่างดีของนักศึกษา
มีครบทุกอย่างที่กฎของหอพักห้าม มักอยู่ไกลจากตึกเรียนไม่ต่ำกว่าหนึ่งกิโลเมตร
อาคารเรียน : สถานที่ควรให้ความเคารพ ห้ามแต่งกายไม่สุภาพ ยกเว้นสายเดี่ยวหรือขาสั้น
มักมีศาลอยู่ด้านหน้า ช่วงสอบจะมีพวงมาลัยหลากสีสัน และขนมต้มแดง ขนมต้มขาว
จักรยาน : พาหนะยอดนิยมของนักศึกษา อาจอัพเกรดเป็นจักรยานยนต์ได้ถ้ากระเป๋าหนัก
รถยนต์ : พาหนะของนักศึกษาบางกลุ่มที่บ้านอยู่ไกล แต่ไม่มีสตางค์จะเช่าหอพัก
เวลาเรียน : กำหนดเวลาเข้าห้อง สายได้ไม่เกินที่อาจารย์กำหนดและอาจโดนแบน
โดยการล็อคห้องไม่ให้เข้า
ก่อนสอบ : เวลาที่มีเสียงบ่นงึมๆ ระงม บ้างก็ท่องสูตรเคมี
บ้างก็บ่นว่าอ่านหนังสือไม่ทันแต่ไม่อยากอ่าน
สอบ : เวลาตายของใครบางคน
หลังสอบ : เวลาที่ควรเปิดหนังสือวิชาที่เพิ่งสอบเสร็จไป มานั่งอ่านอย่างขะมักเขม้น
F : เกรดเกรดหนึ่ง หนึ่งตัวมีค่าเท่ากับเงินค่าหน่วยกิจของวิชาที่ได้เกรดนั้น
และเวลาที่เรียนไปทั้งเทอม
A : เกรดที่บางครั้งได้ไม่เท่ากันในแต่ละปี
ตามแต่ใจอาจารย์ บางครั้งคะแนนสูงกว่า B+ นิดเดียว
จบ : คำพูดสั้นๆ ของอาจารย์ เมื่อเวลาที่เราเรียนครบตามหน่วยกิตที่กำหนด
อาจเกินสี่ปีได้ในบางกรณี
เกียรตินิยม : เหมือนกีฬาโอลิมปิก มีการชิงเหรียญทอง แถมแว่นตา
และข้อความในประกาศเพิ่มอีกสองสามประโยค
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ เข้ามหาวิทยาลัย
การเตรียมตัวก่อนสัมภาษณ์มีคำกว่าว่า
รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ดังนั้นเอง
เราจะต้องเตรียมหาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย คณะที่เราจะเลือก
รวมไปถึงความรู้รอบตัวทั่วไปที่เกี่ยวกับสาขาวิชานั้นๆ
การแต่งกาย
อันนี้เป็นสิ่งที่เรามองข้ามไปไม่ได้เลย
เราควรจะต้องแต่งตัวให้ถูกระเบียบทุกประการ เสื้อผ้าไม่จำเป็นต้องใหม่แต่ต้องสะอาด
ไม่ยับยู่ยี่ สำหรับผู้ชายวันนั้นขอแนะนำให้ตัดผมสั้นหน่อยก็ดี
ผู้หญิงก็มัดรวบผมให้เรียบร้อย ไม่จำเป็นต้องวงเเว๊กขัดเงาต่างๆ
ควรเตรียมอะไรไปบ้าง
เราควรจะเตรียมเอกสารทั้งหมดก่อนวันสัมภาษณ์นะครับ
ไม่ใช่ไปเตรียมตอนรุ่งเช้าแบบนี้จะยุ่งมากทำให้เราไปสายได้
การเตรียมเอกสารก็ควรหาแฟ้มที่มีหลายช่องเพื่อจะได้แยกเอกสารแต่ละชนิด
จะได้หาได้ง่ายเวลานำออกมาใช้ รูปถ่าย GPA หลักฐานต่างๆ
รวมทั้ง ปากกาและก็ที่ลบคำผิด จะได้ไม่ต้องยืมคนอื่นเหมือนตอนอยู่โรงเรียน
คืนก่อนวันสัมภาษณ์
ก็ตามสูตร ดื่มวีต้าแล้วไปนอนซะแล้วก็รีบนอน
โดยพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจี๊ดจ๊าดต่างๆ ตั้งแต่ก่อนวันสัมภาษณ์
เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา ท้องเสีย
ถ้ามีสัมภาษณ์ตอนประมาณช่วงเช้ายังไงก็ควรกินอาหารเช้าด้วยนะครับเพราะกองทัพต้องเดินด้วยท้องและเลี่ยงปัญญาท้องร้องตอนสัมภาษณ์
สำหรับอาหารก็ควรทานอาหารจำพวกย่อยง่าย เช่นโจ๊ก
งดอาหารพวกนมและของมันและเครื่องดื่มจำพวกน้ำอัดลมเพราะจะทำให้ท้องอืดและมีอาการเรอได้
และควรเขี้ยวอาหารให้ระเอียด
เมื่อเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์
ต้องหาข้อมูลให้ชัดเจน และต้องแน่ใจว่าเขานัดสัมภาษณ์ที่ใด ถ้าไม่แน่ใจให้เดินทาง
ไปดูล่วงหน้าก่อน แต่ที่ดีที่สุดควรเดินทางไปถึงที่สัมภาษณ์ล่วงหน้าประมาณสัก 15
นาที จะทำให้เรามีสมาธิ
และมีเวลาเตรียมตัวมากขึ้นแต่ถ้าไปถึงล่วงหน้าเป็นชั่วโมง
ก็ดีแต่อาจจะทำให้คุณรอนานอาจเกิดความหงุดหงิด เสียสมาธิได้ และควรไปคนเดียว
ถ้าไม่จำเป็นอย่าพาผู้อื่นไปด้วยเยอะจะทำให้เราพะวง
เห็นหลายคนยังไปปิกนิกเล่นพามาทั้งครอบครัว กำลังใจเพียบ
ครอบครัวเรามันช่างอบอุ่นอะไรเช่นนี้ อ๋อแล้วอีกอย่างผู้ติดตามก็ควรแต่งกายสุภาพ
ระหว่างนั่งรอสอบสัมภาษณ์
ช่วงก็พยายามทำใจให้สบาย นึกถึกพ่อแก้วแม่แก้วไว้ อย่าทำหน้าเหมือนไม่ได้อึมาหลายวันหละ
และก็ควรจะใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ด้วยการทบทวนความรู้รอบตัวต่างๆ
ถ้าได้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ก็ควรพูดคุยด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มสดใส
อ๋อระหว่างนั่งรอก็นั่งให้มันเรียบร้อยหน่อยครับ อย่ากระดิกเท้า นั่งถ่างขา
นั่งยืดขา แคะขี้มูกด้วย อ๋อก่อนเข้าห้องอย่าลืมปิดมือถือให้เรียบร้อย
เมื่อถูกเรียกตัวเข้าสัมภาษณ์
ก่อนเข้าห้องสัมภาษณ์ลองหายใจลึก
ๆ แต่อย่ามากอาจหน้ามืดก่อน (และก็ควรบอกกับตัวเอง เรายอด เราเยี่ยม เราทำได้
สร้างขวัญและกำลังใจ ห้ามคิดเด็ดขาดว่าตัวเองจะทำไม่ได้ ) และก็เดินลุกอย่างสง่างามเขาไปที่สัมภาษณ์
ถ้ามีประตูควร เคาะ ประตู เสียก่อน ตามมารยาท ยกมือวันทาด้วยท่าทางสุภาพ
ควรไหว้ประธานหรือผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดเพียงผู้เดียวถ้านั่งอยู่หลายคน
โดยทั่วไปมัก นั่ง ตรงกลาง เรื่องนี้ ใช้ไหวพริบเองก็แล้วกัน
อย่าเพิ่งนั่งจนกว่าจะได้รับอนุญาต หรือ คำเชิญจากผู้สัมภาษณ์
แต่ถ้ารู้สึกว่าลมมันเย็นหรือยืนนานเกินไปแล้วผมว่าเราอนุญาตนั่งก็ได้
กล่าวขอบคุณครับ แล้วเราก็นั่งให้หัวใจเต้นเบาลง ตั้งสติก่อนสัมภาษณ์
พอนั่งแล้วก็จัดวางตัวเองอยู่ในที่เรียบร้อย หลังห้ามงอ หน้ามองตรง และที่สำคัญ
ยิ้มสยาม
การวางตัวในขณะสัมภาษณ์
ทำหน้ายิ้มไว้
สบสายตาผู้สัมภาษณ์มีหลายคนชอบมองเพดานหรือมองหาเศษเหรียญตามพื้นถ้าโชคดีอาจจะได้เจอแบงก์พันก็ได้
ถ้าคนสัมภาษณ์มีหลายคนก็ควรแจกจ่ายสายตาให้ทั่วถึงด้วยแต่ก็เน้นไปที่คนใหญ่คนโต
ควรนั่งในท่าสุภาพ ไม่เกร็ง วางแขนไว้ที่ตัก อย่าสั่นขา การตอบคำถามควรลงท้ายด้วย
"ครับ", "ค่ะ" เสมอ
ไม่ควรตอบเฉพาะคำถามห้วนๆ ไม่ควรพูดสอดแทรกในขณะที่ผู้สัมภาษณ์กำลังพูด
ถ้าอาจารย์เกิดแนะนำตัวเองด้วยการบอกชื่อขึ้นมาน้องควรจะจำให้ได้
แล้วต่อไปก็ต้องเรียกชื่อของอาจารย์
การตอบคำถามขณะสอบสัมภาษณ์
จงตอบคำถามด้วยความมั่นใจ
ฉะฉาน พูดให้เป็นธรรมชาติด้วยเสียงที่พอเหมาะอย่าค่อย หรือดังเกินไป
จงพูดเท่าที่จำเป็นอย่าคุยโม้โอ้อวด หรือถ่อมตนมากเกินไป
ห้ามพาดพิงให้ร้ายพูดถึงคนอื่นในแง่ลบ
จงพูดในสิ่งที่เป็นความจริงและสิ่งที่เกี่ยวข้องกับคำถามและเป็นประโยชน์ สำหรับคุณให้มากที่สุด
ดังนั้นเราก็ควรจะฝึกพูดกับตัวเองหรือหน้ากระจกด้วยนะครับ เพื่อจะได้ไม่ประหม่า
และก็หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เฉาพกลุ่มต่างๆนานา เช่น
มันเริ่ดจริง เกรียน สมัยนี้คงไม่มีใช้คำว่าจ๊าบละมั้งสมัยก่อนฮิตกันมาก
แล้วอีกอย่างคือห้ามเถียง ถึงเถียงชนะแต่เราก็อาจจะสอบไม่ติดได้
การตอบคำถามทุกคำถามควรจะพูดความจริง เพราะว่าคนสัมภาษณ์เขามีประสบการณ์เยอะ
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ คำถามที่พบบ่อย
1. เล่าประวัติแบบย่อ
ๆของคุณให้ฟังหน่อยครับ / แนะนำตัวให้กรรมการฟังหน่อยครับ ถามมาแบบนี้ จะถามทำไม
ก้อดูเอาในประวัติสิครับอย่าตอบไปเด็ดขาดเลยนะ ที่เค้าถามน่ะเพื่อดูภาพรวม,
การแสดงความคิดเห็นของตนเอง ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องง่าย
เราก็ควรจะจัดลำดับคำตอบให้ดีนะ เรื่องของตัวเอง Present ให้เต็มที่เลย
แต่ทว่า อย่าไปพูดวกไปวนมา หรือยืดยาวจนเกินไปนะ!!!! แนวๆประมาณ ชื่อ.....ชื่อเล่น.....มาจากรร.ไร.....ความสามารถพิเศษ.....หรืออย่างอื่นที่เราคิดว่าเป็นจุดเด่นของตนเองประมาณเนี้ย
ดังนั้นควนจะฝึกมาตั้งแต่ที่บ้าน
2. เหตุผล ทำไมๆๆ
ถึงเลือกเรียนที่นี่ สาขานี้ ในการตอบนั้น แต่ละคนอาจจะมีลักษณะคำตอบที่แตกต่างกัน
แนวทางของคำตอบนั้น พยายามตอบเป็นกลางๆ คือไม่ได้ฟังดูดีมาก หรือห้วนจนเกินไป
เพื่อความเป็นธรรมชาติ และไม่ดูเป็นสคริปต์มากนัก และที่สำคัญ
ควรตอบคำถามทุกคำถามด้วยถ้อยคำชัดเจนและสุภาพ
เพื่อแสดงความมั่นใจในตัวเองและความเคารพต่อกรรมการ
3. วิชาที่ชอบและไม่ชอบ
4. อาชีพในฝัน
5. ถ้าไม่ได้เรียนที่นี่ในคณะนี้
จะเรียนที่ไหน
6. ถ้าเรียนแล้วรู้ตัวว่าคณะนี้ไม่ใช่จะทำอย่างไร
( ตอบยากมาก )
7. เรียนหนักนะจะไหวหรอ
บอกไปเลยว่าจะพยายามให้ดีที่สุดถ้าได้โอกาสเข้าเรียน อย่าโม้เช่นว่า
อย่างผมนะเก่งอยู่แล้วไม่มีอะไรยากสำหรับผม
8. ถ้าอาจารย์ถามถึงข้อเสียของเรา
เช่นเคยทำอะไรให้พ่อแม่เสียใจบ้าง เคยสร้างวีรกรรมอะไรไว้บ้างก็ ตอบตามความจริง
เพราะอาจารย์บางคนจะไล่ถามถ้าเราแต่งเองก็จะจนมุมในที่สุด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น